ค้นหาบล็อกนี้

วิธีพิทักษ์ รักษ์โลกของเรา

"เราทำได้ คุณก็ทำได้"
ลดปริมาณขยะ
ลดการใช้พลังงาน
เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับน้ำ
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักวิจัยไทยพัฒนาฉนวนกันความร้อนจากวัสดุการเกษตร

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สนับสนุนนักวิจัยไทยพัฒนาแผ่นฉนวนกันความร้อนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร สำหรับบ้านพักอาศัยในเขตร้อนชื้น ที่ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านลงได้ถึง 3 องศาเซลเซียส รายละเอียดติดตามจากรายงาน
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จึงมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นเปลือกมะพร้าวและชานอ้อย ขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้นมีอากาศที่ค่อนข้างร้อนตลอดทั้งปี เกิดการใช้พลังงานเพื่อปรับอุณหภูมิในที่พักอาศัยจำนวนมาก งานวิจัยแผ่นฉนวนกันความร้อนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร สำหรับบ้านพักอาศัยในเขตร้อนชื้นของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์ และคณะจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ โดยการสนับสนุนทุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จึงริเริ่มขึ้นเพื่อแปรรูปเศษผลผลิตทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์มากกว่าของเหลือทั้ง และช่วยลดสภาวะโลกร้อนจากการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์ นักวิจัยบอกว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาแผ่นฉนวนกันจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ผลิตจากเปลือกมะพร้าวและชานอ้อยที่เหลือจากภาคการเกษตร ด้วยวิธีการอัดร้อนแบบไม่ใช้กาวเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสารพิษต่างๆ ต่อสภาพแวดล้อมและผู้ใช้งาน โดยพบว่า แผ่นฉนวนที่ผลิตขึ้นมีคุณสมบัติทางความร้อนใกล้เคียงกับฉนวนกันความร้อนทื่ใช้งานในบ้านเรือนปัจจุบัน สามารถลดอุณหภูมิอากาศเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ฉนวนได้สูงสุดถึง 3.3 องศาเซลเซียส
“งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นฉนวนกันความร้อนจากเปลือกมะพร้าวและชานอ้อยให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับฉนวนกันความร้อนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยหลีกเลี่ยงการใช้กาวที่มีสารพิษในการขึ้นรูปแผ่นฉนวน ซึ่งเราทดลองนำแผ่นฉนวนที่ทำจากเปลือกมะพร้าวและชานอ้อยมาใช้เป็นแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน พบว่า สามารถลดความร้อนได้ไม่แตกต่างฉนวนที่ใช้งานดีที่สุดในปัจจุบัน ”
แผ่นฉนวนกันความร้อนจากเปลือกมะพร้าวและชานอ้อยที่ผลิตขึ้น ยังมีราคาถูกกว่าราคาฉนวนที่จำหน่ายในท้องตลาด ด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากและต้นทุนต่ำ จึงเป็นอีกทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจ ตลอดจนมีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ได้
งานวิจัยการพัฒนาแผ่นฉนวนกันความร้อนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร สำหรับบ้านพักอาศัยในเขตร้อนชื้น จะนำไปจัดแสดงให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมและศึกษาได้ ภายในงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2554 ไทยแลนด์รีเสริช เอ๊กซ์โป 2011 ระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคมนี้ ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

>>ที่มา http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255408210136&tb=N255408&news_headline=รายงานพิเศษ : นักวิจัยไทยพัฒนาฉนวนกันความร้อนจากวัสดุการเกษตร

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พบรอยเท้ามนุษย์โบราณที่จ.พิษณุโลก!!


คณะทัวร์ป่าหน้าฝนของอุทยานภูหินร่องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ที่เดินทางสำรวจท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ ได้พบกับรอยเท้าบนหินก้อนใหญ่ ตามเส้นทางไปลานหินปุ่ม ตรงข้ามกับสะพานมรณะ จึงแจ้งให้นายศักดิ์ปรินทร์ สุรารักษ์ ผู้ช่วยอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เข้าตรวจสอบพร้อมแจ้งผู้สื่อข่าวไปพิสูจน์จุดรอยเท้าบนหินดังกล่าว

โดยพบว่าบริเวณดังกล่าวมีรอยเท้าขนาดเล็ก คาดว่าเป็นรอยเท้ามนุษย์โบราณ 1 รอย ฝังอยู่บนลานหินก้อนหนึ่ง บนเขาสูง กลางป่าดิบชื้นสมบูรณ์ เพราะดูจากสภาพแวดล้อม ก้อนหินทรายดังกล่าวปกคลุมด้วยมอสและเฟิร์น ห่างจากถนนลาดยาง ตรงข้ามสะพานมรณะ 700 เมตร

ลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏ คือ คล้านกับรอยเท้าคนข้างขวา ข้างเดียว เหมือนกับเหยียบย่ำบนพื้นโคลน แต่เจ้าหน้าที่อุทยานฯใช้มือสัมผัส ก็ต้องตกใจ เพราะมีร่องนิ้วครบทั้ง 5 นิ้ว ปรากฏชัดเจน หากเทียบเท้าของเจ้าหน้าที่ชายแล้ว คาดว่า เป็นรอยเท้าของผู้หญิงแน่นอน เพราะมีขนาดเล็กกว่า

นายไพรัช มณีงาม หัวหน้าอุทยานภูหินร่องกล้า เปิดเผยว่า รอยเท้ามนุษย์ ประทับบนหินที่ภูหินร่องกล้า ถือว่า แปลกประหลาด ยังไม่มีใครสังเกตเห็นมาก่อน แม้เจ้าหน้าที่อุทยานฯเดินสำรวจป่าหลายครั้ง ก็ไม่เคยพบ เพราะรอยเท้ามีหญ้าหรือมอสปกคลุม

“คงไม่มีใคร ลงทุนสร้างรอยเท้ามนุษย์ไปฝังบนเนินหินแน่นอน น่าจะเกิดโดยธรรมชาติ หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ภูหินร่องกล้า ก็ถือว่า ตอกย้ำความเชื่อที่ว่าอุทยานฯภูหินร่องกล้า เคยเป็นชั้นหินแล้วเกิดการสะสมตัวของตะกอนเม็ดกรวด เม็ดทรายใต้ท้องน้ำในยุคหลายล้านปีก่อน” หัวหน้าอุทยานฯเผย

ทั้งนี้ ตามข้อมูลธรณีวิทยาระบุว่า ลานหินแตกและลานหินปุ่ม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานฯนั้น เป็นปรากฏการณ์ยุค 50 ล้านปีก่อน ที่มีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก หินร่องกล้าถูกยกตัวสูงขึ้น เพราะถูกแรงบีบอัดสองด้านเกิดเป็นภูเขา ทำให้เกิดรอยแยกคือ ลานหินแตก ส่วนลานหินปุ่ม สันนิษฐานว่าเกิดจากการผุพังของชั้นหิน ต่อมาถูกน้ำกัดเซาะทำให้รอยแตกเป็นร่องลึกและกว้าง กลายเป็นรูปร่างกลมมน มองเห็นเป็นลานปุ่มเรียงราย

แต่รอยเท้า ที่เกิดขึ้นบนหินก้อนดังกล่าวนั้น ยังไม่สามารถระบุกันได้ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร มีเพียงการสันนิฐานกันว่า น่าจะเป็นร่องรอยมนุษย์ยุคหลายล้านปีก่อน แต่ ณ วันนี้ยังไม่มีนักวิชาการพิสูจน์แน่ชัด

ส่วนการจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมนั้น ยังลำบาก เพราะรอยเท้าอยู่บนเส้นทางป่ารกทึบ


ขอขอบคุณที่มา : http://www.onep.go.th/index.php?option=com_content&view=category&id=72&layout=blog&Itemid=85

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาว นพรัตน์ นุตวงษ์
2.นางสาว ณิชากร ภู็่หัสดร
3.นาวสาว อัมราพร สายสุดใจ
4.นางสาว ชนิดา โนนใหม่
5.นางสาว บุษกร นภาแก้ว

ฉลามวาฬ Whale shark



ปลาใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดโตเต็มที่อาจยาวเกิน 12 เมตร น้ำหนักเกิน 11 ตัน ฉลามวาฬพบได้ทั่วโลก แต่มีเพียงทะเลบางแห่ง...บางแห่งเท่านั้น ที่พบเขาชุกชุม จนกลายเป็นตำนานเล่าขานถึงปลาใหญ่สุดที่มวลมนุษยชาติได้รู้จัก เมื่อพ.ศ.2467 กลางอ่าวไทย ฉลามวาฬขนาดยาวเกิน 15 เมตรถูกจับได้ ตลอดประวัติศาสตร์หลายพันปีของมนุษย์ เราไม่เคยพบปลาตัวไหนใหญ่กว่านั้น...อีกแล้ว


ลำดับทางอนุกรมวิธาน

Phylum Vertebrata
Class Chordata
Order Orectolobiformes
Family Rhincodontidae
Genus Rhincodon
Sciencetific name Rhincodon typus
ชื่อไทย ฉลามวาฬ หัวบุ้งกี๋
ชื่อสามัญ Whale shark



ฉลามวาฬ ( Whale shark - Rhincodon typus ) เป็นสัตว์เลือดเย็นในพวกปลากระดูกอ่อน กลุ่มปลาฉลาม เป็นชนิดเดียวใน Family Rhincodontidae และอยู่ใน Order Orectolobiformes ร่วมกับฉลามเสือดาว ( leopard shark - Stegostoma fasciatum ) และ ฉลามขี้เซา ( Nurse shark - Nebrius ferrugineus )

ฉลามวาฬ ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของฉลามวาฬ อยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ โลมา พะยูน เป็นต้น

ฉลามวาฬเป็นปลาและสัตว์เลือดเย็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก กิน plankton เป็นอาหารเช่นเดียว กับกระเบนราหู ( Manta ray - Manta brevirostris ) แต่มีวิธีการกินที่แตกต่างกันออกไป โดยฉลามวาฬจะว่ายเข้าหาฝูง plankton แล้วอ้าปากหุบน้ำ เข้าไปจากนั้นก็จะใช้ซี่เหงือกกรอง plankton ไว้ ขณะที่ manta จะอ้าปากให้น้ำผ่านตลอดเวลา

ลักษณะของฉลามวาฬที่แตกต่างจากฉลามที่เรารู้จักกันคือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ลักษณะการกินอาหารไม่ใช่ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แบ่งฉลามวาฬออกจากฉลามตัวอื่นๆ เนื่องจากยังมีฉลามอีก 2 ชนิดที่ กิน plankton เป็นอาหารแต่อยู่คนละ order กับฉลามวาฬ

วงจรชีวิต ฉลามวาฬเป็นสัตว์ที่มีวงจรชีวิตลึกลับ เท่าที่มีรายงานทราบว่าฉลามวาฬมีอายุยืนมาก จากรายงานของประเทศออสเตรเลียพบว่าฉลามวาฬจะเริ่มสืบพันธุ์ เมื่ออายุ 30 ปี หากเปรียบเทียบช่วงอายุการสืบพันธุ์กับฉลามอื่นใน Order เดียวกันแล้ว พบว่าฉลามวาฬอาจมีอายุถึง 100 ปี ไม่เคยมีใครเห็นฉลามวาฬผสมพันธุ์ในน้ำ แต่คาดว่าจะเกิดขึ้นในทะเลลึกนอกจากนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัดฉลามวาฬออกลูกเป็นตัวหรือเป็นไข่

ในปีค.ศ. 1953 มีเรือประมงลากอวนได้ไข่ของฉลามวาฬ ขนาด 35 เซนติเมตรขึ้นมาได้จากระดับความลึก 55 เมตร ภายในมีตัวอ่อนฉลามวาฬ แต่เราก็ยังไม่แน่ใจว่าฉลามวาฬออกลูกเป็นไข่ เนื่องจากว่าหลังจากนั้นไม่เคยมีใครเห็นไข่ฉลามวาฬอีกเลย

นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าฉลามวาฬออกลูกเป็นตัว (ไข่ฟักตัวในท้องแม่ แล้วออกมาเป็นตัวข้างนอก) สันนิษฐานว่า ฉลามวาฬ 1 ตัวอาจมีไข่มากว่า 100 ฟอง ในรังไข่ อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานนี้ก็ยังไม่มีการยืนยัน

บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมไม่เทียบกับฉลามอื่นๆใน Order เดียวกัน คำตอบก็คือ ฉลามในกลุ่มเดียวกันนั้นออกลูกได้ทั้งเป็นตัว(ฉลามขี้เซา) และเป็นไข่(ฉลามเสือดาว) เรื่องที่น่าประหลาดอีกเรื่องก็คือ ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร มีเพียง 3 ครั้ง เท่านั้นที่พบขนาดเล็กกว่านั้น คือมีขนาด 60 เซนติเมตร 1.3 เมตร และ 3 เมตร

การแพร่กระจาย ฉลามวาฬมีการแพร่กระจายในทะเลเขตร้อนทั่วโลก ยกเว้นทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน ฉลามวาฬมักอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำมีอุณหภูมิ 21-26 องศาเซลเซียส โดยมีการแพร่กระจายสัมพันธ์กับกระแสน้ำอุ่นในบางบริเวณ ฉลามวาฬมักพบในเขตที่มวลน้ำอุ่นปะทะกับน้ำเย็นและ มี plankton มาก ในบริเวณน้ำผุด ( กระแสน้ำด้านล่างพัดปะทะแนวหินแล้วพัดพาเอาธาตุอาหารจากพื้นขึ้นสู่มวลน้ำด้านบน - Upwelling )

นอกจากนี้หลายคนเชื่อว่าฉลามวาฬมีการอพยพย้ายถิ่นแต่ยังไม่มีแนวทางแน่นอนว่าเป็นแนวทางใด ฉลามวาฬในเมืองไทยส่วนใหญ่พบตามกองหินใต้น้ำในบริเวณทะเลเปิด มีความลึก 30 เมตรขึ้นไป อาทิ ริเชลิว หินม่วง หินแดง กองตุ้งกู โลซิน ฯลฯ จุดที่เชื่อกันว่าพบฉลามวาฬบ่อยที่สุดคือ ริเชลิว มีความเป็นไปได้ในเรื่องการอพยพของฉลามวาฬในระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร อาทิ พบว่ามีการอพยพของฉลามวาฬจากเกาะปาปัวนิวกีนีลงมาตามชายฝั่งด้านตะวันออกของแนวปะการัง great barrier reef

การล่าฉลามวาฬในต่างประเทศ ชาวประมงต้องการเพียงแค่ซึ่งมีราคาสูงที่สุด ครีบและหางจะถูกนำมาตากแห้ง ก่อนแล่แล้วส่งโรงงานทำเป็น “หูฉลาม” บางครั้งชาวประมงแล่เอาครีบและหางกลางทะเล ก่อนปล่อยให้ซากศพจมสู่พื้นทะเล เนื้อส่วนท้องของฉลามวาฬจะถูกชำแหละเป็นชิ้น เนื้อส่วนนี้จะถูกนำไปทำเป็น “ฉลามเต้าหู้” ส่วนเครื่องในของฉลามวาฬ เช่น ตับ จะถูกนำส่งโรงงานไปทำน้ำมันตับปลา ใส่แคปซูลไปให้คนกินทั่วโลก แต่ไม่ใช่เฉพาะฉลามวาฬเท่านั้นที่มีตับ ปลาอื่นก็มี และยังมีอีกหมื่นอีกแสนปลาที่เป็นอาหารของพวกเราโดยตรง ไม่จำเป็นต้องฆ่าฉลามวาฬเพียงเพื่อหวังตับและครีบ



เหตุการณ์ทั้งหมดไม่ได้เกิดในทะเลไทย ประมงไทยยังนับถือฉลามวาฬเหมือนเจ้าพ่อ หรือตัวนำโชคแต่ฉลามวาฬเป็นสัตว์อพยพ มีการเดินทางจากทะเลหนึ่งไปอีกทะเลหนึ่ง เขาไม่รับรู้รับทราบกับการแบ่งขอบเขตประเทศของมนุษย์แม้แต่น้อย

หลายสิบปีผ่านไป ฉลามวาฬยังคงอยู่คู่ทะเลไทย พบชุกชุมที่หินริเชลิว ฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดพังงา ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน บริเวณหินม่วง-หินแดง ในเดือนมกราคม ฯลฯ รวมทั้งข้อมูลที่พบทั่วไปในอ่าวไทย เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี หินเพลิง จังหวัดระยอง หินแพ จังหวัดชุมพร ฯลฯ นักดำน้ำต่างพากันลงทะเล ยอมเสียเงินหลายหมื่นบาท บางคนลงทุนข้ามโลกมา เพื่อเพียงได้เห็น ได้มีโอกาสว่ายน้ำเคียงคู่กับปลาใหญ่ที่สุดในโลกสักครั้งในชีวิต ข้อมูลจากการสำรวจขั้นต้น ฉลามวาฬหนึ่งตัวที่หินริเชลิว ทำรายได้ให้ประเทศไทยประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี

บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออกมีชาวประมงและนักดำน้ำเจอกันเป็นประจำในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งฉลามวาฬส่วนใหญ่จะเข้ามากินอาหาร ได้แก่พวกลูกกุ้ง เคย เนื่องจากมีความชุกชุมมากในช่วงนี้ จากการสอบถามคุณวิเชียร สิงห์โตทอง ประธานชมรมธุรกิจท่องเที่ยว บอกว่าในปี พ.ศ. 2546 เจอฉลามวาฬ 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2546 มีความยาวประมาณ 8 เมตร ที่บริเวณเกาะรัง จังหวัดตราด ความลึกของน้ำประมาณ 30 เมตร และเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2546 พบบริเวณหินเพลิง จังหวัดระยอง ความยาวลำตัวประมาณ 7-8 เมตร พบที่ความลึกของน้ำประมาณ 30 เมตร และจากการสอบถามชาวประมงเรือไดหมึก พบฉลามวาฬเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูหนาว (ตุลาคม-กุมภาพันธ์) บริเวณเกาะทะลุ และบริเวณหมู่เกาะมัน ที่ความลึกของน้ำประมาณ 15-17 เมตร ในปีพ.ศ.2548 คืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2548 คุณวิเชียร สิงห์โตทอง พบปลาฉลามวาฬเพศเมีย ความยาวลำตัว 4.5 เมตร น้ำหนัก 480 กิโลกรัม เข้ามาเกยตื้นที่บริเวณหาดแหลมแม่พิมพ์ จังหวัดระยอง ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ชาวบ้านและชาวประมงในบริเวณนั้นช่วยกันผลักให้ฉลามวาฬลงทะเลไปได้ แต่ฉลามวาฬอาจได้รับบาดเจ็บหรือป่วย เช้าวันที่ 23 พฤษภาคม 2548 ก็พบว่าได้เสียชีวิตแล้ว ซากของฉลามวาฬได้นำไปผ่าพิสูจน์ปรากฏว่าไม่พบอาหารในกระเพาะเลย คาดว่าน่าจะป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจนว่ายน้ำ ไม่ไหว
CREDIT:http://km.dmcr.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=99:2009-02-17-04-13-13&catid=93:2009-02-16-08-37-08

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ณ หอผู้ป่วยกุมาร 1 โรงพยาบาลราชบุรี
ตึกเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ชั้น 2
เวลา 15.49-16.55 น.
จุดประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้เยี่ยม พนักงาน หมอ พยาบาล ในโรงพยาบาลได้เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในโรงพยาบาล ต้องมีการจัดการกับสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลให้ดี สะอาด ไร้เชื้อโรค รวมทั้งให้ประชาชนที่เห็นการรณรงค์ของเรา ตระหนักถึงความสำคัญและช่วยกันสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นไป

ขั้นแรกก็ช่วยกันตัดกระดาษก่อน

ลองทาบดูซิใช่ได้ป่าวเนี้ย

วัดตรงมั๊ยเรา

ดูท่าจะเอียงนะเนี้ย

ช่วยกันแปะ ช่วยกันดู แบบว่าสามัคคี !

กิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

มุ่งมั่นทำต่อไปค่ะ

แกะไม่ออกอ่ะ

เร็วๆหน่อย ฉันจะติดกาว!

ของหายแล้วเรา

กิจกรรมรณรงค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

พวกเรากำลังทำหัวข้อเรื่อง อย่างตั้งใจค่ะ ^^

งานเสร็จไปกว่าครึ่ง ดีใจจัง!

ช่วยกันแกะกาวสองหน้า และติดบอร์ดกัน

โฮ เสร็จแล้ว พวกเราดีใจค่ะ

งานก็เป็นแบบนี้ล่ะค่ะ สวยๆๆ

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยูเครนเตรียมช่วยหมี ถูกทารุณในร้านอาหาร

รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศยูเครน ประกาศเตรียมช่วยเหลือหมี ที่ถูกทำทารุณ และบังคับให้ดื่มวอดกาในร้านอาหาร และโรงแรมในที่ต่างๆทั้งหมด...

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 3 ส.ค.ว่า นายไมโคลา ซโลเชฟสกี รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศยูเครน กล่าวว่า จะเร่งดำเนินการช่วยเหลือหมี ที่ถูกจับเพื่อนำไปโชว์ในภัตตาคารต่างๆ และถูกบังคับให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยบอกว่า มันเป็นเรื่องที่ผิดหลักมนุษยธรรม และเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้


"ในโทรทัศน์ยังมีการถ่ายทอดการทารุณกรรมหมีภายในร้ายอาหาร และโรงแรมต่างๆ เราจะทนให้มีการกระทำเยี่ยงนี้ในร้านอาหาร และปล่อยให้บรรดาแขกเหรื่อบังคับให้หมีดื่มวอดกา และนั่งหัวเราะไปอีกนานแค่ไหนกัน" เขากล่าว

ทั้งนี้ นายซโลเชฟสกี ยังเปิดเผยว่า ทางกระทรวงเตรียมแผนการสร้างเขตที่อยู่อาศัย ซึ่งจะสามารถรองรับหมีได้ถึง 80 ตัว ไว้ที่เขตุอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศแล้ว

อนึ่ง การจับและฝึกหมีเพื่อความบันเทิงในร้านอาหาร มีมาตั้งแต่สมัยยูเครนยังรวมเป็นประเทศเดียวกันกับรัสเซีย และยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่ายูเครนจะยกให้หมีเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติแล้วก็ตาม

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/oversea/191358

สนองพระราชดำริฟื้นฟูดิน ยกเขาหินซ้อนเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ

นายเกรียงศักดิ์ หงษ์โต รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินกล่าวว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรก ที่กรมพัฒนาที่ดินได้สนองพระราชดำริ เข้าไปฟื้นฟูสภาพดิน พร้อมกันนี้ยังเป็นแกนกลางประสานส่วนราชการอื่นๆ เพื่อร่วมพลิกฟื้นปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ขาดศักยภาพในการทำเกษตร สภาพทะเลทรายกลายเป็นพื้นที่เขียวชอุ่ม ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก สร้างความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ได้อยู่ดีกินดีขึ้นเป็นอย่างมาก


รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินกล่าวต่อว่า ศูนย์พัฒนาฯ ดังกล่าว หลังเข้าไปดูแลทำการพลิกฟื้นสามารถปลูกพืชพรรณต่างๆ สร้างรายได้ สร้างงานให้กับประชาชนในพื้นที่ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติให้ประชาชนได้เรียนรู้ในการดำรงชีวิตตามแบบอย่างเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผลพวงจากการดำเนินงานดังกล่าว ได้ก่อเกิดโครงการและกิจกรรมที่สร้างความสุข เสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ประชาชนได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากดินอย่างรู้คุณค่า เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป.

ที่มา http://oknews.exteen.com/20110804/entry-43