ค้นหาบล็อกนี้

วิธีพิทักษ์ รักษ์โลกของเรา

"เราทำได้ คุณก็ทำได้"
ลดปริมาณขยะ
ลดการใช้พลังงาน
เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับน้ำ
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สัตว์นํ้าเพื่อมวลมนุษยชาติ 2563

กรมประมง อาเซียน ซีฟเดค รวมพลังระดมสมอง 10 ชาติ จัดมหกรรมการประชุม การประมงอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงทางอาหารในทศวรรษหน้า “สัตว์น้ำเพื่อมวลมนุษยชาติ กับการเตรียมรับสภาวะการเปลี่ยนแปลง” ในระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโซฟิเทล เซนทาร่า กรุงเทพฯ

การจัดประชุมแบ่งออกเป็นคณะต่างๆ 4 คณะ คณะที่ 1 คือการประชุมทางวิชาการ ซึ่งมีการพูดถึงการบริหารจัดการประมง การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อความยั่งยืน การบริหารจัดการประมงเชิงนิเวศ ความปลอดภัยอาหารสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ การค้าสินค้าสัตว์น้ำ การปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเป็นอยู่ชุมชนประมงและเศรษฐกิจสังคม และความมั่นคงทางอาหารจากการประมงน้ำจืด

คณะที่ 2 คือการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสบวกสาม ซึ่งเป็นการประชุมหารือในระดับปลัดกระทรวงของประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยมีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางการประมงกับประ เทศเกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น ตามกรอบความร่วมมือที่เห็นชอบในการประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียน ครั้งที่ 10 ในส่วนของประเทศไทยได้มีการนำเสนอกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดสร้างปะการังเทียม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเลลึก การประเมินและวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะที่ 3 คือการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส การประชุมหารือในระดับปลัดกระทรวง เพื่อร่วมกันพิจารณาความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการ เรื่อง การประมงอย่างยั่งยืนสำหรับความมั่นคงทางอาหารของภูม ิภาคอาเซียนจนถึงปี พ.ศ. 2563 และคณะที่ 4 คือการประชุมระดับรัฐมนตรี โดยมีการรับรองและประกาศข้อมติเรื่อง “การจัดการประมงอย่างยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาคอาเซียนจนถึงปี พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาการประมงของภูมิภาคอาเซียนต่อไปสำหรับสิบปีข้างหน้า

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่า การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การจัดมหกรรมการประชุมครั้งนี้จะก่อให้เกิดความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนและซีฟเดค เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในบทบาทและความสำคัญของภาคประมงต่อความมั่นคงทางอาหารและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันการประมงเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคธุรกิจการส่งออก โดยเฉพาะประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าประมงเป็นอันดับ 3 ของโลก ดังนั้น การหารือร่วมกับในประเทศสมาชิกอาเซียนในครั้งนี้ นอกจากเป็นการรับทราบถึงกฎกติกาในการทำประมงของแต่ละ ประเทศแล้ว ยังจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติในการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้านประมงในอนาคต โดยเฉพาะการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

ด้าน ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรอบนโยบายและแผนปฏิบัติการในการจัดการประมงอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาคในทศวรรษหน้าที่รัฐมนตรีอาเซียนให้ความเห็นชอบร่วมกันนี้ จะช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้นำไปใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนาการประมงในระดับประเทศให้มีความยั่งยืน ทั้งในแง่ความยั่งยืนของทรัพยากรประมง การรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของชาวประมง สวัสดิการแรงงานประมง การส่งเสริมบทบาทความเสมอภาคของสตรี การผลิตสินค้าประมงให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้า การปรับตัวของภาคการประมงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังจะทำให้ความร่วมมือในระดับภูมิภาคมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าประมงจากภูมิภาคในตลาดโลกด้วย
>>>ที่มา http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=1584

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลูบคมกรมอุทยานฯ ตะลึงคร่อมซากเสือโคร่งหลังล่าที่ป่าทุ่งใหญ่

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยหลังเดินทางกลับจากการสอบสวนนายฮอง แวน เหงียน พรานชาวเวียดนามและนายหน่าย แซ่ท้าว พรานชาวม้ง ที่เข้ามาลักลอบล่าสัตว์และลักลอบตัดไม้กฤษณาออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ว่า เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้จับนายฮอง แวน เหงียน ชาวเวียดนามและนายหน่าย แซ่ท้าว ชาวม้ง พร้อมอาวุธปืน ได้เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่บริเวณป่ารอยต่อระหว่างทุ่งใหญ่นเรศวรกับ อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งขณะนี้ได้ควบคุมตัวอยู่ที่สภอ.อุ้มผาง จ.ตาก โดยทั้ง 2 คนให้การว่าเข้ามาล่าสัตว์และตัดไม้กฤษณา จำนวน 5 คน ซึ่งอีก 3 คน เป็นชาวเวียดนาม 2 คน และชาวม้ง 1 คน หนีไปได้ เจ้าหน้าที่กำลังติดตามตัว คาดว่า จะได้ตัวเร็วๆนี้

“ สิ่งที่น่าตกใจคือเมื่อตรวจสอบจากโทรศัพท์พบภาพถ่ายของนายหน่าย แซ่ท้าว ถือปืนอาก้าเอ เค 47 นั่งอยู่บนซากเสือโคร่งทั้งตัว และยังพบภาพถ่ายงาช้างและภาพถ่ายเพื่อนอีกคนสะพายปืนพร้อมซากหัวหมู่ป่าและเขี้ยวเสือ” นายธีรภัทร กล่าวและว่า ต่อมาในวันที่ 25 มิ.ย. เจ้าหน้าที่ได้ตามรอยเลือดของกลุ่มนายพรานไปถึงป่าทุ่งใหญ่นเรศวรพบซากหมู่ป่า อีก 2.2 กิโลกรัม คาดว่าน่าจะเป็นของกลุ่มนายพรานกลุ่มกลุ่มเดียวกัน จากนั้น วันที่ 26 มิ.ย.เจ้าหน้าที่ลาดตระเวน ได้เดินทางไปถึงหมู่บ้านเซปาหล่ะ ต.แม่ละมุ้ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก ที่คาดว่านายพรานจะหลบหนีเข้ามาอยู่ จึงได้แจ้งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทราบและช่วยกันตรวจสอบ กระทั่งมีชาวบ้านมาแจ้งว่ามีคนเดินไม่ใส่รองเท้าอ้างว่ารถเสีย เป็นนักท่องเที่ยวและมีพิรุธ จนเจ้าหน้าที่พบตัวนายฮอง แวน เหงียน ชาวเวียดนาม นอนอยู่ในรีสอร์ทแห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่จึงเข้าจับกุมตัวเมื่อ 26 มิ.ย.นี้ และยังจับกุมนายหน่าย แซ่ท้าว ได้ในเช้าวันที่ 27 มิ.ย.พร้อมอาวุธปืน .22 และกระสุนปืนอีก 60 นัด
>>>>ที่มาhttp://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20110629/397892/ลูบคมกรมอุทยานฯ-ตะลึงคร่อมซากเสือโคร่งหลังล่าที่ป่าทุ่งใหญ่.html

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้......

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คืออะไร ?

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น

ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรม

มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?

กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)

ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?

ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ

ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?

ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก

ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?


ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์

โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?


ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี

ปริมาณฝนและระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?


ในศตวรรษที่ 20 ปริมาณน้ำฟ้า (น้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่ตกลงมาจากฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะของเหลวหรือของแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ) บริเวณพื้นแผ่นดินส่วนใหญ่ของซีกโลกเหนือในเขตละติจูดกลางและละติจูดสูง สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 - 10 % แต่ลดลงประมาณ

ส่วนระดับน้ำทะเล จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ปรากฏว่าเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.5 มม./ปี และในระยะ 3,000 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเฉลี่ย 0.1 - 0.2 มม./ปี (IPCC, 2001) แต่จากข้อมูลตรวจวัดในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1 - 2 มม./ปี

ประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ?

ในการประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU

หลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกหลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้

ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ในเดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535

ในการประชุมสุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบภูมิอากาศ

วันที่ 21 มีนาคม 2537 เป็นวันที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบัน

ต่อจากนั้นอีก 6 เดือน คือ วันที่ 21 กันยายน 2537 ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเสนอรายงานแห่งชาติ (National Communications) เกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ (INC) ได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ การจัดการเกี่ยวกับการเงิน การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง และยุบไป (การประชุมครั้งสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2538) และได้ให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ( The Conference of the Parties หรือ COP) เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญาฯ โดย COP มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตัดสินใจสนับสนุนและส่งเสริมการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง COP มีการประชุมทุกปี จำนวน 9 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2546 ดังนี้ COP-1 เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งแรก จัดขึ้นที่ เบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538
COP-2 จัดขึ้นที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
COP-3 จัดขึ้นที่ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2540
COP-4 จัดขึ้นที่ บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างวันที่ 2 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
COP-5 จัดขึ้นที่ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
COP-6 จัดขึ้น กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
COP-7 จัดขึ้นที่ มาราเก็ช ประเทศโมรอคโค ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
COP-8 จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
COP-9 จัดขึ้นที่ มิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 1 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546

ที่มา*http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เสียงจากคนรักผีเสื้อ ก่อนราชินีแห่งแมลงสูญพันธุ์


"ถ้าถามว่าดูผีเสื้อไปทำไม นอกจากฝึกเรื่องความอดทนและทำให้จิตใจผ่อนคลายจากสีสันสวยงาม ผมคิดว่าความสวยงามของผีเสื้อเป็นกุศโลบายให้คนรักธรรมชาติ เพราะผีเสื้อเป็นดัชนีบอกความอุดมสมบูรณ์ธรรมชาติ วงจรชีวิตพวกมันผูกพันกับดอกไม้ และต้นไม้ ถ้าเราพบผีเสื้อมาก บ่งชี้ได้ว่าป่าไม้บริเวณนั้นสมบูรณ์ ถ้ารักผีเสื้อต้องช่วยกันอนุรักษ์ป่า เวลานี้ผีเสื้อหายาก ลดจำนวนลงมาก บางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว ขอไว้ทุกข์ให้ผีเสื้อสมิงเชียงดาวของไทยด้วย เชื่อว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ความสวยงามและความหายากของเขา ทำให้เป็นที่ต้องการของนักสะสมทั่วโลก" สินธุยศ จันทรสาขา สมาคมรักษ์ปางสีดา เล่าถึงการส่งเสริมการชมผีเสื้อหลังมีกระแสอนุรักษ์ผีเสื้อตามผืนป่า
ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญผีเสื้อ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และส่งเสริมผีเสื้อล้อมวงกันในงานเสวนาวิชาการเรื่อง "แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย" ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เพื่อแสวงหาลู่ทางสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ผีเสื้อให้เข้มแข็ง และขอให้สงวนรักษาถิ่นที่อยู่อาศัยของผีเสื้อในพื้นที่อุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตลอดจนแหล่งพืชอาหารอื่นๆ เนื่องจากผีเสื้อเริ่มมีแนวโน้มลดลงในพื้นที่ป่าหลายแห่งและหลายชนิดที่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์
สุพร พลพันธ์ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า ป่าแก่งกระจานมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงตั้งแต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจนถึงผีเสื้อ โดยเฉพาะผีเสื้อมีมากกว่า 284 ชนิด อาทิ ตาลหางแหลมธรรมดา ใบไม้เล็ก เหลืองหนามใหญ่โคนปีกดำ เหลืองหนามธรรมดา หางดาบธรรมดา ฯลฯ แต่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ป่าลึกยังไม่ได้สำรวจ หากมีการศึกษาคาดว่าจะพบชนิดพันธุ์เพิ่มเติม โดยบริเวณบ้านกร่างและพะเนินทุ่งเป็นแหล่งที่พบผีเสื้อหลากหลายชนิดพันธุ์ ปัญหาในเวลานี้คือขาดบุคลากรที่มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผีเสื้อ ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ เป็นผู้ศึกษา การเก็บตัวอย่างใช้วิธีการถ่ายภาพในภาคสนาม ไม่ต้องเก็บตัวอย่างผีเสื้อมาศึกษา ในอนาคตจะมีโครงการ "พิพิธภัณฑ์ผีเสื้อ" โดยปรับศูนย์พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติบ้านกร่าง จัดแสดงเรื่องของผีเสื้อที่น่าสนใจ "เดิมจะพบเห็นผีเสื้อบินเป็นสายยาว ปัจจุบันบินเป็นกลุ่มๆ ถ้าเทียบประชากรในอดีตจำนวนลดน้อยลง ที่ผ่านมาสร้างแหล่งอาหารและที่อยู่ให้ผีเสื้อ โดยเฉพาะสร้างโป่งเทียมที่ผีเสื้อชอบ ช่วยดึงผีเสื้อเข้าใช้พื้นที่อุทยาน มีการโซนนิ่งพื้นที่ชมผีเสื้อเพื่อลดผลกระทบ มีเขตสงวนปลอดนักท่องเที่ยว เพื่อคุ้มครองผีเสื้อหายาก อย่างผีเสื้อถุงทองป่าสูงและผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว นอกเหนือจากนี้จำกัดช่วงเวลาในการเข้าชมแหล่งผีเสื้อเป็นรอบๆ เพื่อจำกัดจำนวนคน ถนนวังวน-พะเนินทุ่งที่ผ่านขึ้น เขามีป้ายเตือนขับรถด้วยความระมัดระวัง ลดจำนวนผีเสื้อที่ถูกรถชนตาย" สุพร อธิบายถึงการอนุรักษ์ผีเสื้อในเขตอุทยานฯ
ด้านแก้ว ดอนคำ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา จ.สระแก้ว กล่าวว่า ที่ปางสีดามีผีเสื้อมากกว่า 400 ชนิด ช่วงฤดูฝนมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาดูผีเสื้อหลายพันธุ์จำนวนมากที่ลานหิน โดยเฉพาะบริเวณน้ำตกปางสีดา และน้ำตกหินตาด แต่ผีเสื้อกลุ่มใหญ่เริ่มจำนวนลดลง เพราะสภาพธรรมชาติเปลี่ยนแปลง แหล่งอาหารของผีเสื้อก็ลดลง นอกจากนี้ การที่มีนักท่องเที่ยวมาชมผีเสื้อจำนวนมาก นำพาหนะเข้ามาในพื้นที่อุทยานฯ เชื่อว่าควันรถ เสียง และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อวงจรชีวิตผีเสื้อ บางคนเดินออกนอกเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เหยียบย่ำไข่ ตัวหนอนผีเสื้อ นอกเขตอุทยานฯ ก็ใช้สารเคมีเข้มข้นในพื้นที่เกษตร และบุกรุกแผ้วถางทำลายป่า ขยายพื้นที่ปลูกยูคาลิปตัส ทำให้แหล่งอาหารผีเสื้อลดลง หนอนแมลงก็ไม่กินใบยูคาฯ ด้วย น้ำใต้ดินก็ถูกดูดไปเลี้ยงเกษตรเชิงเดี่ยว ทำให้น้ำตามธรรมชาติเหือดแห้ง ใบไม้ต้นไม้บนเขาก็เหี่ยวเฉา ทั้งหมดกระทบถิ่นที่อยู่อาศัยของผีเสื้อ ไม่รวมผีเสื้อที่ต้องสังเวยกลุ่มคนลักลอบเก็บตัวอย่างไปขายนักสะสมต่างแดน ในการอนุรักษ์นอกเหนือจากปลูกพืชอาหาร อาทิ ต้นรัก ต้นหนอน ต้นคูน ต้นขี้เหล็ก เพื่อเพิ่มปริมาณผีเสื้อให้มากขึ้นแล้ว ยังเร่งสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังร่วมกันในพื้นที่ 5 จังหวัด กระตุ้นให้เยาวชนร่วมมือด้วย ซึ่งเป็นการให้ความรู้ด้านผีเสื้อ รวมทั้งสัตว์อื่น แล้วก็มีมัคคุเทศก์น้อยนำนักท่องเที่ยวชมผีเสื้อ เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศ
ขณะที่พิชา พิทยขจรวุฒิ ที่ปรึกษาสมาคมอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว เห็นผีเสื้อฝูงมหึมาบินมาอวดโฉมให้เห็นที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา ตามเส้นทางโชคชัย-เดชอุดมที่ผ่านพื้นที่อุทยานใหม่ๆ เป็นความประทับใจไม่ลืม อยากเห็นผีเสื้อสวยงามมากมายอย่างนั้นอีก ทำยังไงจะได้เห็นอีก เราพบว่าแหล่งผีเสื้อที่มีคนนิยมไปดู วันนี้ปริมาณผีเสื้อลดลง ถูกรบกวนจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และแหล่งอาหารโดนทำลาย รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนก็ส่งผลกระทบ ประเทศไทยมีชนิดพันธุ์ผีเสื้อหลากหลาย ผีเสื้อหนอนกระท้อนที่อุทยานแห่งชาติปางสีดาก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อผีเสื้อลดจำนวนลง สิ่งที่จะตามมาคือ งานผสมเกสรดอกไม้เกิดผลไม้นานาชนิดหายไป ตัวอ่อนผีเสื้อที่กำจัดแมลงศัตรูพืชก็หายไป ห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติกระทบ มันเป็นอาหารของสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะนกและแมลงต่างๆ โอกาสเยี่ยมชมศึกษาธรรมชาติของผีเสื้อก็หมดไป ทำยังไงจะลดผลกระทบต่อธรรมชาติในแหล่งผีเสื้อให้เหลือน้อยที่สุด
สำหรับแผนปฏิบัติการอนุรักษ์ที่จะก่อให้เกิดฝูงผีเสื้อบินมาสู่พื้นที่อุทยานแห่งชาติและพื้นที่สวนสาธารณะในเมืองนั้น ที่ปรึกษาสมาคมอุทยานแห่งชาติเสนอว่า ต้องสร้างแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารของผีเสื้อให้สมบูรณ์ เช่น สร้างโป่งผีเสื้อ ปรับปรุงโป่งผีเสื้อ ส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงผีเสื้ออย่างจริงจังบนพื้นฐานงานศึกษาวิจัย สร้างความชื้นในอากาศและดินตามแหล่งอาศัยผีเสื้อให้เพิ่มขึ้น โดยการปลูกพืชอาหารของผีเสื้อและของหนอนผีเสื้อ ตลอดจนรักษาความสมบูรณ์ของป่าเขา มองว่าต้องมีการศึกษาลึกถึงวงจรชีวิตของผีเสื้อและแหล่งอาหารของผีเสื้อ ความหนาแน่นของจำนวนประชากร และจำนวนพันธุ์ นอกจากจากศึกษาด้านอนุกรมวิธาน โดยกำหนดเขตศึกษาวิจัยในพื้นที่อุทยานฯ และเขตรักษาพันธุ์ฯพร้อมมีระเบียบการศึกษาวิจัยเรื่องผีเสื้อที่เหมาะสม งานวิจัยจะได้ไม่กระทบสภาพที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของผีเสื้อตามธรรมชาติ
ในการเสวนาครั้งนี้ที่จัดโดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ที่ประชุมเสนอให้จัดทำโครงการ "ปากประตูสู่อุทยานแห่งชาติ" ร่วมมือกันจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น อุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ปทุมธานี และอุทยานแห่งชาติที่กระจายในภูมิภาคต่างๆตลอดจนเสนอให้มีการจัดทำเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการเฉพาะเรื่อง เช่น วารสารเกี่ยวกับการศึกษาผีเสื้อ และจัดนิทรรศการเคลื่อนที่เรื่องผีเสื้อ กระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจเรื่องของผีเสื้อเพิ่มขึ้น พร้อมกับส่งเสริมให้จัดกิจกรรมชมผีเสื้อกับกลุ่มคนทุกระดับ นอกจากนี้จะมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เป็นช่องทางประสานงานร่วมกันในอนาคต ต้องติดตามโครงการความร่วมมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การอนุรักษ์ผีเสื้อราชินีแห่งแมลง จึงเป็นวาระสำคัญของชาติที่จะสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้ทุกคนสนใจ ช่วยกันอนุรักษ์หวงแหนสิ่งแวดล้อม และรักษาป่าเขาลำเนาไพร ให้ผีเสื้อสวยงามได้อาศัยขยายพันธุ์และให้ความสุขแก่ผู้พบเห็น
>>>>ที่มา http://www.thaipost.net/sunday/260611/40741

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เที่ยวแบบรักษ์โลก 4 เทรนด์แห่งกรีนแทรเวล 2011

......ถ้าจะมองปี 2011 ดูเหมือนว่าเราจะต้องประหลาดใจกับความร้อนแรงของการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ เพราะจากการประชุมยุโรปอีโคทัวริสต์คอนเฟอเรนซ์ที่เอสโตเนีย มีการสรุปเทรนด์การท่องเที่ยวที่จะได้เห็นในปี 2011 เอาไว้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น

1.โรงแรมที่มีซีโร่คาร์บอน...นับเป็นหนึ่งเทรนด์ที่เราต้องดูแล เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อน ดังนั้น จึงมีการเปิดตัวโรงแรมที่เป็นซีโร่คาร์บอนในยุโรป โดยทางรัฐบาลทางฝากฝั่งนี้ เขามีแรงจูงใจให้ใคร ๆ พากันหันมาทำธุรกิจกรีน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ธุรกิจนี้เติบโตได้
เรียกว่าถ้าท่องเที่ยวแบบนี้โลก เราจะลดขนาดของคาร์บอนฟุตพรินต์ในปี 2011 ได้มากโขทีเดียว


>>> โรงแรมที่มีซีโร่คาร์บอนในเอเชีย และได้รับการตอบรับดีคือ URBN โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ต ที่ได้ประกาศตัวเป็นกรีนโฮเต็ล และจะเป็นโรงแรมแรกในประเทศจีนด้วย โรงแรมแห่งนี้มีกำหนดการที่จะเปิดในฤดูใบไม้ผลิในปี 2012 ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งทางโรงแรมได้เน้นการปลูกต้นไม้และความเขียวขจีต่าง ๆ รวมทั้งนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เขาว่าจะเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต.


2.การเดินทางท่องเที่ยวแบบอาสาสมัคร...ในปี 2011
เป็นปีแห่งประสบการณ์การเดินทาง ท่องเที่ยวแบบอาสาสมัคร ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเข้าถึงสังคมท้องถิ่นทั่วโลก และมีโอกาสที่จะให้การสนับสนุนกับกิจกรรมในท้องถิ่น โดยคาดหวังได้เห็นกิจกรรมของอาสาสมัครผสมผสานกับการท่องเที่ยวอย่างชัดเจนในปี 2011 ซึ่งไม่รวมถึงเป้าหมายของพวกแบ็กแพ็กเกอร์และการเดินทางท่องเที่ยวของนักเรียน


>>> เอาล่ะ ต่อไปเราจะได้เห็นนักเดินทางจิตสาธารณะเกิดขึ้นเพียบ

3.การท่องเที่ยวแบบช้าลง...ในเรื่องของประสบการณ์การท่องเที่ยว ผู้ประกอบการหลายแห่งได้พยายามสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้เป็นอะไรที่มากกว่าการเดินทางจากจุดเอไปจุดบี โดยมุ่งเน้นให้เข้าถึงการท่องเที่ยวแบบช้าลง เน้นจดจำการท่องเที่ยวในแบบ "ไปให้ถึง" เพื่อที่จะจดจำความสำคัญและรายละเอียดของทริปเอาไว้มากกว่า

4.เทรนด์ความเคลื่อนไหวการท่องเที่ยวในท้องถิ่น...จะเป็นอีกหนึ่งที่เป็นการท่องเที่ยวแบบกรีน เพราะการท่องเที่ยวในท้องถิ่นมีเป้าหมายเชื่อมนักท่องเที่ยวกับชาวบ้านเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันของทั้งสองฝ่าย การท่องเที่ยวแบบนี้กำลังเป็นที่นิยมมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่เชื่อว่าการท่องเที่ยวแบบกรีนจริง ๆ ต้องเคารพประเพณี วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ของแต่ละท้องถิ่นด้วย เพื่อให้การท่องเที่ยวแบบนี้ยั่งยืนต่อไป

ที่มา>> http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02dlf02030154§ionid=0225&day=2011-01-03

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

' แกนโลกเอียง ' ความหวั่นวิตกที่ควรรู้

โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 17 มีนาคม 2554



เหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เมื่อไม่นานบนโลกนี้ และอีกหลายประเทศทางใต้ของประเทศไทยอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็ยังคงเกิดแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง...T ล่าสุดบ่ายวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2554 ในขณะที่ทุกคนบนโลกใช้ชีวิตตามปกติ ก็เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาเยือนโลกใบนี้อีกครั้ง สถานที่เกิดเหตุห่างจากจังหวัดมิยากิ หมู่เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น 130 กิโลเมตร และห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 380 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนจากการเกิดแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ ส่งผลกระทบทำให้เกิดคลื่นยักษ์หรือสึนามิสูงกว่า 10 เมตร ซัดถล่มบริเวณพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดมิยากิได้รับความเสียหายรุนแรงในรอบ 140 ปี ถึงขนาดทำให้เกาะฮอนชูเขยื้อน 8 ฟุต และทำให้แกนโลกเคลื่อน 10 กว่าเซนติเมตร (ซึ่งเป็นแกนโลกสมมติ) เหตุการณ์นี้ได้สร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินชาวญี่ปุ่นอย่างมหาศาล
หลายสมมติฐานตั้งข้อสังเกตว่า หากแกนโลกเคลื่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งอากาศ เวลา และอื่นๆ ไปดูกันว่านักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นเขาได้คาดการณ์ไว้ว่าอย่างไรบ้าง Tแกนโลกเคลื่อนเรื่อยๆ อยู่แล้วT T เบนจามิน ฟง เจาT นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์เที่ยวบินอวกาศ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (นาซา) กล่าวไว้ว่า ผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศชิลีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ทำให้แกนของโลกเอียงไปจากตำแหน่งเดิม แม้จะไม่สำคัญเท่าใดนัก แต่ก็เปลี่ยนไปจากตำแหน่งเดิมอย่างถาวร แล้วยังส่งผลให้ระยะเวลาในหนึ่งวันสั้นหรือช้าลงไป 1.26 ไมโครวินาที (1 ไมโครวินาที เท่ากับ 1 ในล้านวินาที) และแผ่นดินไหวที่ชิลี 8.8 ริกเตอร์ ทำให้แกนโลกเอียงไป 8 เซนติเมตร จึงทำให้โลกร้อนเพิ่มขึ้นและโลกหนาวเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้น ผลที่ตามมาก็คือชายฝั่งทะเลทั่วโลกจมน้ำเพิ่มขึ้นทุกปี ฝนตกมากนานผิดปกติในแต่ละพื้นที่ ดินบนภูเขาพังทลายทับหมู่บ้าน และน้ำท่วมนานนับเดือน เพราะน้ำทะเลเอ่อสูงดันน้ำในแม่น้ำไว้ ซึ่งก่อนและหลังจากแผ่นดินไหว ก็มีเหตุธรรมชาติที่เกิดมาแล้วทั่วโลก ที่เป็นสิ่งบ่งชี้หรือว่าเตือนมนุษย์โลกแล้ว นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า แกนโลกจะเอียงหนึ่งครั้งในทุก 40,000 ปีเศษๆ TหากแกนโลกพลิกT อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนของแกนโลก หากเคลื่อนไปมากจนเกิดปรากฏการณ์แกนโลกพลิกตัว ซึ่งทางองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซา (National Aeronautics and Space Administration - NASA) (นาซา)เคยนำคำพูดที่น่ากลัวมากล่าวถึงในที่สาธารณะเกี่ยวกับการพลิกกลับขั้ว โลก จะทำให้คุณสมบัติของแม่เหล็กของโลกอ่อนแอและเบี่ยงเบนไป การพลิกกลับเกี่ยวกับขั้วของโลกและดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาที่จริง ดังต่อไปนี้ - ระบบอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากจะทำงานผิดปกติ (ระบบขีปนาวุธ ,computer) - เกิดการอพยพของฝูงสัตว์ เช่น นก หรือปลาวาฬ ทำให้สูญเสียทิศทางและอื่นๆ - ระบบภูมิคุ้มกันโรคในบรรดาสัตว์รวมถึงมนุษย์จะทำให้อ่อนอย่างมาก - ทำให้เกิดภูเขาไฟเพิ่มขึ้น, เกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว และแผ่นดินถล่ม - สนามแม่เหล็กโลก (Magnetosphere) จะอ่อนแอลง และการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์จะเพิ่มปริมาณถึงระดับ อันตราย ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมา ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ - กลุ่มวัตถุในอวกาศที่มีเส้นผ่านมากมายจะเฉียดเข้าใกล้โลกได้ง่ายขึ้น - แรงดึงดูดของโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้น เหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้น เมื่อแกนโลกเกิดการพลิกตัว Tอาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนT อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ แต่ไม่ครบถ้วน จะสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและความหวั่นวิตกโดยไม่จำเป็น กรณีแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ที่ประเทศญี่ปุ่น ติดตามด้วยข่าวแกนโลกเคลื่อนที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นและความหวั่นวิตก ได้อย่างมีสีสัน แต่ Tจันทร์เพ็ญ ศิลาวงศ์สวัสดิ์T อาจารย์ด้านธรณีฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกว่า เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ “เพราะถ้ามันเปลี่ยน ตำแหน่งดาวต่างๆ ที่เราเห็นในตอนกลางคืน เราจะไม่เห็นมันอยู่ในตำแหน่งเดิม เพราะมุมแกนโลกมันอ้างอิงกับระบบนอกโลก เงาของดวงอาทิตย์ในแต่ละฤดูกาลก็จะเปลี่ยนไป สุริยวิถีก็จะเปลี่ยน ที่เราจะเห็นคือ เงาของดวงอาทิตย์จะไม่คงอยู่ที่เดิม เพราะเราจะใช้วิธีการดูเงาบอกเวลามาตั้งแต่สมัยก่อน” ไม่ใช่แค่นั้น ถ้าแกนโลกเคลื่อนจริงตามตัวเลขที่เป็นข่าว ฤดูกาล การขึ้น-ลงของน้ำจะเปลี่ยนไปทันที และนั่นอาจหมายถึงหายนะของโลกไปแล้ว อาจารย์จันทร์เพ็ญ อธิบายต่อว่า “การเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดที่ เปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงจะเกิดที่เปลือกโลก ไม่ได้กระทบไปถึงตำแหน่งการวางตัวของโลกในระบบใหญ่ คือมันเป็นไปได้ยากมาก และก็มีข่าวทำนองนี้ออกมาหลายครั้ง ตั้งแต่แผ่นดินไหวที่เฮติว่าเคลื่อนเป็น 10 องศา ซึ่งมันมหาศาลเลยนะคะ ผลกระทบเยอะมาก คุยๆ กันในหมู่อาจารย์ก็พูดกันว่าเป็นไปไม่ได้” ถามว่าจะมีอะไรทำให้แกนโลกเคลื่อนได้ อาจารย์จันทร์เพ็ญบอกว่า ต้องใช้พลังงานที่มากกว่าแผ่นดินไหว เช่น การพุ่งชนของอุกาบาตจากนอกโลก เนื่องจากวัตถุที่มีการหมุนจะมีสมดุลของมันอยู่ การจะทำให้เสียสมดุลจะต้องมาจากภายนอก ถ้าอยู่ข้างในจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของตัวมันเอง ส่วนข้อมูลที่มักได้ยินว่า โดยปกติแกนโลกก็เคลื่อนอยู่แล้วตามธรรมชาติ ก็น่าจะเป็นความเข้าใจสับสนระหว่างแกนโลกกับแกนแม่เหล็กโลก “ข่าวที่ว่าแกนโลกมีการเคลื่อนอยู่ตลอด จริงๆ แล้วคือแกนแม่เหล็กไฟฟ้าของโลก ซึ่งเกิดจากโลหะเหลวภายในโลก ภายใต้อุณหภูมิสูงๆ ในเปลือกโลกและมีการไหลวน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและผลิตสนามแม่เหล็กโลกขึ้นมา โดยปกติแล้วมันจะกลับทิศของขั้วเหนือ-ใต้อยู่บ้าง ซึ่งปัจจุบันนี้มันก็ไม่ตรงกับแกนหมุนของโลก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แกนแม่เหล็กเคลื่อนอาจจะเป็นสาเหตุเดียวกับที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหว เพราะการที่เปลือกโลกมันเคลื่อนเนื่องจากมีการไหลวนของของเหลวภายในเปลือก โลก” เช่นเดียวกันกับ Tวรวุฒิ ตันติวนิชT อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ปรึกษาทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี ที่อธิบายถึงข้อมูลที่หลายคนเข้าใจว่า แกนโลกนั้นเคลื่อนที่ จริงๆ เป็นความเข้าใจผิด เพราะที่เคลื่อนคือแกนโลกสมมติต่างหาก "เรื่องแกนโลกที่ทำให้โลกหมุนกับแกนโลกสมมตินี้ มันเป็นคนละเรื่องกัน เพราะแกนโลกสมมติได้มาจากการใช้ดาวเทียมจีพีเอส เพื่อคำนวณหารูปทรงของโลก เพราะฉะนั้น ถ้ามันเปลี่ยนไปนิดเดียวก็ไม่มีผลอะไรทั้งสิ้น ไม่จำเป็นต้องตื่นเต้นเลย ขณะที่แกนโลกจริง มันต้องเอียงอยู่แล้ว เพราะถ้าไม่เอียงก็ไม่มีฤดู "แต่สาเหตุที่เขาต้องประกาศออกมา เพราะถ้าอะไรมันเคลื่อนไปนิดหนึ่ง ก็จะทำให้สมมาตรของโลก ซึ่งภาษา’รางวัด’ ของ เรียกว่า จิออย มันเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเวลาที่แผ่นดินไหว เปลือกโลกมันเคลื่อน น้ำหนักมันเคลื่อน ขยับตัวไป ลักษณะภูมิประเทศมันเปลี่ยนไป ก็ทำให้แกนโลกสมมตินี้ขยับไปนิดหนึ่ง แล้วที่สำคัญแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทุกครั้ง นาซาจะต้องคำนวณว่า แกนโลกสมมติเปลี่ยนไปอย่างไร เพื่อจะปรับตัวจิออย จะได้อ่านค่าจีพีเอสได้เหมือนเดิม" ……… ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าแกนโลกสมมติหรือแกนโลกจริงจะเอียงหรือเคลื่อนที่ไปเท่าไหร่แล้ว แต่ความเป็นจริงในตอนนี้ก็คือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันน่าหวาดกลัวของเหล่า มนุษยชาติได้เกิดขึ้นจริง และเราก็ได้เห็นกันบ่อยๆ แล้ว ซึ่งนอกจากจะเกิดขึ้นในชีวิตจริงแล้วยังเกิดขึ้นในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ‘2012 วันสิ้นโลก’ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว หรือสึนามิ หรือภาพยนตร์ไทยเรื่อง ‘2022 Tsunami สึนามิ วันโลกสังหาร’ นั่นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ก็เตรียมตัวและเตรียมใจรับมือกับสิ่ง ที่จะเกิดขึ้น ที่เรียกว่า 'ภัยธรรมชาติ' ไว้แล้วเสมอ แล้วคุณล่ะเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่เริ่มผิดปกติที่กำลังคืบคลาน มาเยี่ยมคุณและครอบครัวในทุกๆ ฤดูกาลนี้อย่างไรบ้าง

>>>>>ที่มา http://www.tei.or.th/news-environment/110318-2-1.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความยุติธรรมของสิ่งแวดล้อมคือ????

ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกร้อน เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศนิวซีแลนด์และประเทศญี่ปุ่น ปัญหาหมอกควันภูเขาไฟในประเทศแถบยุโรป ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และคลื่นสึนามิ เป็นต้น ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อประชาคมโลกทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เป็นเหตุให้ทั่วโลกหันมาสนใจและให้ความสำคัญแก่สิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน หลายประเทศมีการรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม!!


หลายประเทศให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการกำหนดเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐภาคีที่จะให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทร่วมกันกับรัฐ ดังเช่น อนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมสาธารณะในการตัดสินใจ และการเข้าถึงความยุติธรรมในคดีสิ่งแวดล้อม ค.ศ.1998 หรือ The Convention on Access to Information, Public Participation in Decision-Making and Access to Justice in Environmental Matters (อนุสัญญาอาร์ฮูส) ซึ่งปัจจุบันมีรัฐภาคีทั้งหมด 44 ประเทศ แต่ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นรัฐภาคีสมาชิก

อนุสัญญาดังกล่าวมีแนวคิดในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม กับหลักสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเข้าด้วยกัน เนื่องจากโดยหลักแล้วประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และในขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการคุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถคงอยู่ในสภาพดังกล่าว

อนุสัญญาอาร์ฮูสได้กำหนดหลักการสำคัญในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยหลักการที่สำคัญสามประการ ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม (Access to Information) การสนับสนุนให้ประชาชนหรือสาธารณชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการอันอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Public Participation) และการเข้าถึงความยุติธรรมในคดีและข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม (Access to Justice)

รัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาอาร์ฮูส หากไม่ปฏิบัติตามรัฐภาคีอื่นๆ NGO หรือประชาชน สามารถที่จะร้องขอให้คณะกรรมการกำกับดูแลการปฏิบัติตามอนุสัญญาอาร์ฮูส พิจารณาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น คดีที่องค์กรภาคเอกชน Green Salvation ร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอในการนำเข้าและทิ้งกากนิวเคลียร์ของต่างชาติ จาก Kazatomprom (บริษัทพลังงานปรมาณูแห่งประเทศคาซัคสถาน) แต่คำขอดังกล่าวถูกปฏิเสธจากหน่วยงานดังกล่าว โดยอ้างว่า ภายใต้ระเบียบปฏิบัติที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศคาซัคสถาน บุคคลที่ร้องขอข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐต้องให้เหตุผลประกอบคำขอว่าเหตุใดจึงต้องการข้อมูลนั้น ซึ่งคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าข้ออ้างของหน่วยงานดังกล่าวมีลักษณะที่ขัดต่ออนุสัญญาอาร์ฮูส มาตรา 4 วรรค 1 (a) ที่ระบุอย่างชัดแจ้งว่าผู้ร้องขอให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเสนอเหตุผลประกอบคำขอ

สำหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้อย่างชัดเจน ดังนี้

*สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม มาตรา 56 และ 57 กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น รวมถึงข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว

*สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน มาตรา 66 และ 67 กำหนดให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน อีกทั้งยังได้บัญญัติรับรองถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน

*การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระ ทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว

*สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รัฐธรรมนูญกำหนดไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 28 ว่า บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อขอใช้สิทธิทางการศาล หรือยกเป็นข้อต่อสู้ได้ นอกจากนี้ มาตรา 67 ยังได้บัญญัติถึงสิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อม

คดีที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมของไทย ได้แก่

-คำวินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการตรวจสอบโรคระบาดไก่ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย มีมติให้กรมปศุสัตว์เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ผู้อุทธรณ์ร้องขอทุกรายการให้แก่ผู้อุทธรณ์ สำหรับข้อมูลข่าวสารรายการที่ 4 ให้เป็นดุลยพินิจของกรมปศุสัตว์ที่จะลบชื่อแพทย์ สัตวแพทย์ และเจ้าของฟาร์มที่ได้รับการตรวจโรค หรือข้อความที่อาจทำให้รู้ถึงตัวบุคคลดังกล่าว (คำวินิจฉัยที่ สค 93/2547)

-กรณีคดีปกครองที่มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งมีวัตถุประสงค์ด้านการจัดการปัญหามลพิษได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่าองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม และศาลได้พิพากษาให้ ขสมก. และรถร่วมบริการต้องส่งรายงานผลการตรวจสอบสภาพรถต่อศาลทุก 3 เดือน

***กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นสถานการณ์ของการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น การส่งเสริมสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนในการตรวจสอบ
กรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกรณีอันอาจเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญและเป็นการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน.
ที่มา>>>>http://www.ryt9.com/s/tpd/1167708

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พบซากฟอสซิลช้างโบราณที่เมืองย่าโม

จังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2554 สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สำรวจพบฟอสซิลช้างโบราณ สกุลไซโกโลโพดอน อายุ 10 ล้านปีจากแอ่งโคราช มี 4 งา คู่บนยาวเท่าช้างยุคปัจจุบัน ส่วนงาล่างมีความยาวแค่คืบ

นายชวลิต วิทยานนท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดเผยว่า จากการวิจัยฟอสซิลในสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน ร่วมกับ อ.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันฯ มีรายงานการค้นพบฟอสซิลช้างชนิดใหม่ของโลก ในสกุลไซโกโลโพดอน (Zygolophodon ) จากแอ่งโคราชเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ทั้งนี้จากตัวอย่างฟันกรามบนและกรามล่างของฟอสซิลทั้ง 7 ชิ้นพบว่า มีความแตกต่างกับฟอสซิลช้างโบราณ ในสกุลไซโกโลโพดอน ชนิดที่เคยมีการค้นพบทางเอกสารที่ตีพิมพ์ไว้แล้ว 5-6 ชนิดจากประเทศแอฟริกา อียิปต์ เคนยา ยุโรป และจีน เนื่องจากตัวอย่างกรามฟอสซิลที่พบในบ่อทรายริมน้ำมูล อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ของไทยนั้น มีลักษณะของฟันแบบ zygodont ที่มีสันฟัน 4-5 สันในฟันกรามซี่สุดท้าย สันฟันของทุกซี่มีลักษณะสันที่เป็นยอดแคบ ด้านหน้า และด้านหลังของสันเรียบ โดยเฉพาะในสันที่ 1 ถึงสันที่ 3 หรือ 4 และไม่มีตุ่มแทรกในร่องระหว่างสันฟัน จึงต่างกับช้างในสกุลนี้ที่เคยมีรายงานไว้

นายชวลิต กล่าวว่า นอกจากนี้ช้างโบราณดังกล่าวมีรูปร่างลักษณะคล้ายช้างปัจจุบันก็จริง แต่มีขนาดเล็กกว่า 3 ใน 4 มีความสูงประมาณ 2 เมตรเท่านั้น มีงา 2 คู่ โดยงาบนจะยาวคล้ายกับงาช้างไทย แต่งาล่างเล็กมากอยู่ตรงบริเวณปลายคางด้านล่างไม่ถึงคืบ และจากการพิสูจน์พบว่า ฟอสซิลมีอายุอยู่ในช่วง 10 ล้านปีและใกล้เคียงกับสัตว์ในยุคปัจจุบันมาก

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบฟอสซิลช้างถึง 11 สกุลด้วยกัน และใน 9 สกุล เป็นฟอสซิลจากแหล่งบ่อทรายของโคราช อาทิ สกุล Sinomastodon สกุล Stegolophodo ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของป่าแถบนี้ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารงานวิจัยร่วมกับสถาบันต่างชาติเพื่อจัดพิมพ์ผลงานการค้นพบต่อไป โดยจะรวมกับการค้นพบ พร้อมกันนี้จะมีการเปิดรายงานวิจัยทั้งหมดในการประชุมวิชาการโลกด้านบรรพชีวินวิทยาและลำดับชั้นหิน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ระหว่างวันที่ 28 พ.ย.-2 ธ.ค.นี้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.


ที่มา : http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/217566.html