ค้นหาบล็อกนี้

วิธีพิทักษ์ รักษ์โลกของเรา

"เราทำได้ คุณก็ทำได้"
ลดปริมาณขยะ
ลดการใช้พลังงาน
เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับน้ำ
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พบซากฟอสซิลช้างโบราณที่เมืองย่าโม

จังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2554 สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สำรวจพบฟอสซิลช้างโบราณ สกุลไซโกโลโพดอน อายุ 10 ล้านปีจากแอ่งโคราช มี 4 งา คู่บนยาวเท่าช้างยุคปัจจุบัน ส่วนงาล่างมีความยาวแค่คืบ

นายชวลิต วิทยานนท์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดเผยว่า จากการวิจัยฟอสซิลในสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน ร่วมกับ อ.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันฯ มีรายงานการค้นพบฟอสซิลช้างชนิดใหม่ของโลก ในสกุลไซโกโลโพดอน (Zygolophodon ) จากแอ่งโคราชเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ทั้งนี้จากตัวอย่างฟันกรามบนและกรามล่างของฟอสซิลทั้ง 7 ชิ้นพบว่า มีความแตกต่างกับฟอสซิลช้างโบราณ ในสกุลไซโกโลโพดอน ชนิดที่เคยมีการค้นพบทางเอกสารที่ตีพิมพ์ไว้แล้ว 5-6 ชนิดจากประเทศแอฟริกา อียิปต์ เคนยา ยุโรป และจีน เนื่องจากตัวอย่างกรามฟอสซิลที่พบในบ่อทรายริมน้ำมูล อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ของไทยนั้น มีลักษณะของฟันแบบ zygodont ที่มีสันฟัน 4-5 สันในฟันกรามซี่สุดท้าย สันฟันของทุกซี่มีลักษณะสันที่เป็นยอดแคบ ด้านหน้า และด้านหลังของสันเรียบ โดยเฉพาะในสันที่ 1 ถึงสันที่ 3 หรือ 4 และไม่มีตุ่มแทรกในร่องระหว่างสันฟัน จึงต่างกับช้างในสกุลนี้ที่เคยมีรายงานไว้

นายชวลิต กล่าวว่า นอกจากนี้ช้างโบราณดังกล่าวมีรูปร่างลักษณะคล้ายช้างปัจจุบันก็จริง แต่มีขนาดเล็กกว่า 3 ใน 4 มีความสูงประมาณ 2 เมตรเท่านั้น มีงา 2 คู่ โดยงาบนจะยาวคล้ายกับงาช้างไทย แต่งาล่างเล็กมากอยู่ตรงบริเวณปลายคางด้านล่างไม่ถึงคืบ และจากการพิสูจน์พบว่า ฟอสซิลมีอายุอยู่ในช่วง 10 ล้านปีและใกล้เคียงกับสัตว์ในยุคปัจจุบันมาก

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบฟอสซิลช้างถึง 11 สกุลด้วยกัน และใน 9 สกุล เป็นฟอสซิลจากแหล่งบ่อทรายของโคราช อาทิ สกุล Sinomastodon สกุล Stegolophodo ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของป่าแถบนี้ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมเอกสารงานวิจัยร่วมกับสถาบันต่างชาติเพื่อจัดพิมพ์ผลงานการค้นพบต่อไป โดยจะรวมกับการค้นพบ พร้อมกันนี้จะมีการเปิดรายงานวิจัยทั้งหมดในการประชุมวิชาการโลกด้านบรรพชีวินวิทยาและลำดับชั้นหิน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ระหว่างวันที่ 28 พ.ย.-2 ธ.ค.นี้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.


ที่มา : http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/217566.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น