ค้นหาบล็อกนี้

วิธีพิทักษ์ รักษ์โลกของเรา

"เราทำได้ คุณก็ทำได้"
ลดปริมาณขยะ
ลดการใช้พลังงาน
เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับน้ำ
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สัตว์นํ้าเพื่อมวลมนุษยชาติ 2563

กรมประมง อาเซียน ซีฟเดค รวมพลังระดมสมอง 10 ชาติ จัดมหกรรมการประชุม การประมงอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงทางอาหารในทศวรรษหน้า “สัตว์น้ำเพื่อมวลมนุษยชาติ กับการเตรียมรับสภาวะการเปลี่ยนแปลง” ในระหว่างวันที่ 13-17 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมโซฟิเทล เซนทาร่า กรุงเทพฯ

การจัดประชุมแบ่งออกเป็นคณะต่างๆ 4 คณะ คณะที่ 1 คือการประชุมทางวิชาการ ซึ่งมีการพูดถึงการบริหารจัดการประมง การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อความยั่งยืน การบริหารจัดการประมงเชิงนิเวศ ความปลอดภัยอาหารสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ การค้าสินค้าสัตว์น้ำ การปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเป็นอยู่ชุมชนประมงและเศรษฐกิจสังคม และความมั่นคงทางอาหารจากการประมงน้ำจืด

คณะที่ 2 คือการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสบวกสาม ซึ่งเป็นการประชุมหารือในระดับปลัดกระทรวงของประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยมีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางการประมงกับประ เทศเกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น ตามกรอบความร่วมมือที่เห็นชอบในการประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียน ครั้งที่ 10 ในส่วนของประเทศไทยได้มีการนำเสนอกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดสร้างปะการังเทียม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเลลึก การประเมินและวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะที่ 3 คือการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส การประชุมหารือในระดับปลัดกระทรวง เพื่อร่วมกันพิจารณาความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการ เรื่อง การประมงอย่างยั่งยืนสำหรับความมั่นคงทางอาหารของภูม ิภาคอาเซียนจนถึงปี พ.ศ. 2563 และคณะที่ 4 คือการประชุมระดับรัฐมนตรี โดยมีการรับรองและประกาศข้อมติเรื่อง “การจัดการประมงอย่างยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาคอาเซียนจนถึงปี พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาการประมงของภูมิภาคอาเซียนต่อไปสำหรับสิบปีข้างหน้า

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่า การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การจัดมหกรรมการประชุมครั้งนี้จะก่อให้เกิดความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนและซีฟเดค เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในบทบาทและความสำคัญของภาคประมงต่อความมั่นคงทางอาหารและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันการประมงเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคธุรกิจการส่งออก โดยเฉพาะประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าประมงเป็นอันดับ 3 ของโลก ดังนั้น การหารือร่วมกับในประเทศสมาชิกอาเซียนในครั้งนี้ นอกจากเป็นการรับทราบถึงกฎกติกาในการทำประมงของแต่ละ ประเทศแล้ว ยังจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติในการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้านประมงในอนาคต โดยเฉพาะการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

ด้าน ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรอบนโยบายและแผนปฏิบัติการในการจัดการประมงอย่างยั่งยืนเพื่อความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาคในทศวรรษหน้าที่รัฐมนตรีอาเซียนให้ความเห็นชอบร่วมกันนี้ จะช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้นำไปใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนาการประมงในระดับประเทศให้มีความยั่งยืน ทั้งในแง่ความยั่งยืนของทรัพยากรประมง การรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของชาวประมง สวัสดิการแรงงานประมง การส่งเสริมบทบาทความเสมอภาคของสตรี การผลิตสินค้าประมงให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้า การปรับตัวของภาคการประมงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังจะทำให้ความร่วมมือในระดับภูมิภาคมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าประมงจากภูมิภาคในตลาดโลกด้วย
>>>ที่มา http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=1584

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น